วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2554


ปูมชีวิต อานันท์ ปันยารชุน นายกรัฐมนตรี "ผู้ดีรัตนโกสินทร์"



สังเขปครอบครัว

นายอานันท์ ปันยารชุน เกิดเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2475 เป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวน 12 คนของ มหาอำมาตย์ตรี พระยาปรีชานุสาสน์ (เสริญ ปันยารชุน) และ คุณหญิงปรีชานุสาสน์ (ปฤกษ์ โชติกเสถียร) นายอานันท์สมรสกับหม่อมราชวงศ์สดศรีสุริยา จักรพันธุ์ ธิดาหม่อมเจ้าคัสตาวัส จักรพันธุ์ (พลโท หม่อมเจ้าคัสตาวัส จักรพันธุ์ ทรงเป็นโอรสในพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ กับ หม่อมหวน จักรพันธุ์ ณ อยุธยา) มีธิดา 2 คนคือนางนันดา ไกรฤกษ์ (สมรสกับ ไกรทิพย์ ไกรฤกษ์) และนางดารณี เจริญรัชตภาคย์ (สมรสกับ ชัชวิน เจริญรัชตภาคย์)

ประวัติฝ่ายพ่อ

มหาอำมาตย์ตรี พระยาปรีชานุสาสน์ มีนามเดิมว่า เสริญ ปันยารชุน เป็นบุตรของ พระยาเทพประชุน (ปั้น) และคุณหญิงจัน เกิดเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2433 ณ บ้านคลองบางหลวง จังหวัดธนบุรี

ได้รับการศึกษาอย่างดีแต่วัยเด็ก จากโรงเรียนอัสสัมชัญ โรงเรียนสวนกุหลาบ โรงเรียนวัดเทพศิรินทร์ สอบได้ทุนเล่าเรียนหลวงของกระทรวงศึกษาธิการ จึงได้ไปศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษ เมื่ออายุเพียง19 ปี เมื่อปี 2452 ในวิชาครูคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ สอบได้คะแนนดีเยี่ยม จนได้รับรางวัลพิเศษ คือเหรียญรัชมังคลาภิเษกจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

กลับมารับราชการในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นครูอยู่หลายโรงเรียน อาทิ เทพศิรินทร์ สวนกุหลาบ มหาดเล็กหลวง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้บังคับการโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ตำแหน่งสุดท้ายคือ ปลัดทูลฉลอง กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อปี พ.ศ.2476 ขณะมีอายุเพียง 43 ปี เป็นปลัดกระทรวงอยู่เพียงปีเดียวก็ลาออก ขอรับบำนาญ เพื่อไปประกอบอาชีพส่วนตัว คือธุรกิจด้านหนังสือพิมพ์

จากนั้น ได้ก่อตั้ง บริษัทสยามพาณิชยการ (ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัทไทยพาณิชยการ) ขึ้นเมื่อปี 2478 นอกจากรับจ้างงานพิมพ์ทั่วๆไปแล้ว ยังออกหนังสือพิมพ์ทั้งรายวันและรายสัปดาห์ครบทั้ง 3 ภาษา คือ สยามนิกร และ สุภาพสตรีในภาษาไทย, ไทยฮั้วเซี่ยงป่อ ในภาษาจีน, และ บางกอกโครนิเกิล ในภาษาอังกฤษ ฯลฯ

ทังนี้ถือเป็นแหล่วงรวมนักหนังสือพิมพ์สำคัญในยุคนั้น อาทิ เฉลิม วุฒิโฆษิต สมญานาม "บรรณาธิการมืออาชีพ"โชติ แพร่พันธุ์ เจ้าของนามปากกา "ยาขอบ"มาลัย ชูพินิจ เจ้าของนามปากกา "น้อย อินทนนท์" "แม่อนงค์" และ "เรียมเอง" และ สุภา ศิริมานนท์ ปูชีนยบุคคลและนักหนังสือพิมพ์ฝ่ายประชาธิปไตยคนสำคัญ เป็นต้น

ร่วมกับเพื่อนๆนักหนังสือพิมพ์ก่อตั้งสมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยขึ้น เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2484 โดยรับตำแหน่งเป็นนายกสมาคมคนแรก และเป็นติดต่อกันมา 2 สมัย ถึงปี 2485 พร้อมกับการวางมือด้านกิจการหนังสือพิมพ์โดยโอนบริษัทไทยพาณิชยการ ให้ นายอารีย์ ลีวีระ (ต่อมาเป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ สยามนิกร และ พิมพ์ไทย ซึ่งหลังจากถูกปล่อยตัวในคราว กบฏสันติภาพ 10 พฤศจิกายน 2495 เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ก็ได้เข้าพิธีมงคลสมรสกับ นางสาวกานดา บุญรัตน์ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ และเดินทางไปดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์ที่ชายทะเลบ้านหนองแก อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ถูกยิงเสียชีวิตที่เรือนพัก โดยตำรวจยศสิบตำรวจโทและพลตำรวจอีก 4 นาย จากกองกำกับการจังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งอ้างคำสั่งของ พ.ต.ท.ศิริชัย กระจ่างวงศ์ หนึ่งในนายตำรวจอัศวินแหวนเพชร ลูกน้องของ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์) ดำเนินการสืบแทน ต่อมาโดยท่านหันไปประกอบอาชีพด้านธุรกิจท่องเที่ยวแทน

พระยาปรีชานุสาส์น ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2517 สิริอายุได้ 85 ปี

สาแหรกข้างแม่

พระยาโชฎึกราชเศรษฐี (เถียน) บุตรจีนจือ ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้ถวายตัวอยู่ในกรมสมเด็จพระเทพศิรินนทรามาตย์ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นที่ขุนสมุทรโคจร ในกรมท่าซ้าย และเป็นหลวงภาษีวิเศษในปี 2402 ตำแหน่งเจ้าภาษีนายอากรอยู่ในกรมท่าซ้าย ต่อมาในสมัยรัชการที่ 5 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรครั้งแรกเป็นพระพิบูลย์พัฒนากรในปี 2411 และเป็นพระยานรนาถภัคดีศรีรัชฎากรในปี 2416 ช่วยราชการคลังในหอรัษฎากรพิพัฒน์ด้านภาษีอากร และเงินรายได้ของแผ่นดิน เมื่อ ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) ได้เป็นจางวางกรมสรรพภาษี กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ได้เป็นองคมนตรีที่ปรึกษาราชการในพระองค์ เป็นผู้ทำน้ำประปาจำหน่ายเป็นครั้งแรกในสำเพ็ง โดยสูบน้ำขึ้นถังแล้วต่อท่อไปตามบ้าน

พระยาทิพย์โกษา (โต โชติกเสถียร) เป็นบุตรชายคนโตของพระยาโชฎึกราชเศรษฐี (เถียน) เคยรับราชการทางฝ่ายปกครองมาแล้ว ในหัวเมืองสังกัดกรมท่า เป็นผู้ว่าราชการเมืองนครชัยศรี (นครปฐม) มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาสุนทรบุรีศรีพิไชยสงคราม ต่อมาถึงปี 2434 ได้โอนมารับราชการในกรมท่าถลาง และเปลี่ยนราชทินนามใหม่เป็นพระยาทิพย์โกษา เป็นผู้ชำนาญการภาษีอากร ซึ่งเป็นตำแหน่งลอยๆ ในปีเดียวกันนั่นเอง ก็ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้กำกับข้าหลวงใหญ่หัวเมืองฝ่ายทะเลตะวันตก มีอำนาจมากกว่าข้าหลวงใหญ่และข้าหลวงทั้งหมด ในฐานะข้าหลวงใหญ่มณฑลภูเก็ตคนแรก พระยาทิพย์โกษาได้กลายเป็นผู้ริเริ่มจัดตั้งมณฑลภูเก็ต ตั้งแต่การแบ่งเขตการปกครองเมืองต่างๆออกเป็นอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน การจัดตั้งคณะผู้บริหารมณฑลขึ้นมาเรียกว่า กองมณฑล ซึ่งประกอบด้วย ข้าหลวงใหญ่ และข้าหลวงฝ่ายต่างๆ ของเมืองต่างๆ พระยาทิพโกษา (โต) สมรสกับ คุณหญิงกุหลาบ โชติกเสถียร มีบุตรธิดาดังนี้

1.พระยาพิพิธภัณฑ์วิจารณ์

2.พระยาสรรพกิจปรีชา (ชื่น โชติกเสถียร) ถวายตัวเป็นมหาดเล็กหลวง แล้วไปศึกษา ณ ประเทศอังกฤษ สอบไล่ได้ชั้นเนติบัณฑิต กลับมารับราชการ ประจำในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ในตำแหน่งเลขาธิการเสนาบดีผู้ช่วยที่ปรึกษาราชการกระทรวง มีหน้าที่เกี่ยวกับภาษาต่างประเทศเป็นพื้น ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไปรับราชการประจำในกระทรวงการต่างประเทศ ภริยาคนแรก คุณหญิงฉลวย สรรพกิจปรีชา ธิดาคนที่ 4 คือ นางสิริ ภรรยานายพจน์ สารสิน

ฯลฯ

6.คุณหญิงปฤกษ ปรีชานุสาสน์ ต.จ.

ฯลฯ

สาแหรกข้างเมีย

พันเอก พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าออศคาร์นุทิศ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ (2 ธันวาคม 2426 - 12 สิงหาคม 2478) อดีตประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ ประสูติแต่ หม่อมราชวงศ์สว่าง จักรพันธุ์ (ศิริวงศ์) พระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าออศคาร์นุทิศ เป็นพระนามพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามพระนามของสมเด็จพระราชาธิบดีออศคาร์ที่ 2 แห่งสวีเดนและนอร์เวย์ เพื่อเป็นที่ระลึกในเหตุการณ์ที่ เจ้าชายออสคาร์แบร์นาด็อต พระราชโอรสในสมเด็จพระราชาธิบดีออศคาร์ที่ 2 เสด็จฯ เยือนประเทศไทยในปี พ.ศ. 2427 ซึ่งสมเด็จเจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมีฯ ได้ถวายการรับเสด็จ

พระองค์เจ้าออศคาร์นุทิศ ทรงเสกสมรสกับ หม่อมจำรัส จักรพันธุ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม ปิยะวัตร) และ หม่อมหวน จักรพันธุ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม บุนนาค) มีพระโอรสธิดาดังนี้

1. หม่อมเจ้าหญิงดวงตา (14 ต.ค. 2448 - 22 ต.ค. 2485) สมรสกับ หม่อมเจ้าสวัสดีประดิษฐ์ สวัสดิวัตน์

2. หม่อมเจ้าคัสตาวัส (10 ส.ค. 2449 - 23 ก.พ. 2526) สมรสกับ หม่อมเจ้าทิตยาทรงกลด รพีพัฒน์

3. หม่อมเจ้าหญิงสรัทกาล (? - 4 ก.ค. 2454)

4. หม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ หรือในเวลาต่อมาได้รับการโปรดเกล้าฯสถาปนาเป็นที่ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ (27 ก.ค. 2452 - 13 ต.ค. 2536) สมรสกับหม่อมวิภา [ธิดาของ พลโทหลวงกาจสงคราม (เทียน เก่งระดมยิง) สมาชิกผู้ก่อการอภิวัฒน์สยาม 2475 ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการปรากบฏบวรเดช (ตุลาคม 2476) หากต่อมาเป็นรองหัวหน้าคณะรัฐประหาร 2490 ซึ่งมีพลโท ผิน ชุณหะวันเป็นหัวหน้า] และหม่อมประพาล (รจนานนท์) มีธิดาคนเดียวคือ หม่อมราชวงศ์เพ็ญศิริ กรัยวิเชียร (สมรสกับ นิติกร กรัยวิเชียร บุตรชายคนโตของ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร)

5. หม่อมเจ้าหญิงลุอิสาณ์ (18 ม.ค. 2453 - 23 ธ.ค. 2537) สมรสกับ หม่อมเจ้าดิศศานุวัติ ดิศกุล

พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ ทรงปลงพระชนม์เองเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2478 เนื่องจากทรงคับแค้นพระทัยที่ถูกอำนาจการเมืองในขณะนั้น (พระยาพหลพลพยุหเสนา) บีบคั้นให้กดดัน และฟ้องร้องดำเนินคดี ดำเนินการริบทรัพย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงสละราชสมบัติไปก่อนหน้านั้น

ชีวิตราชการ

นายอานันท์จบการศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียนอำนวยศิลป์ และโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย จากนั้นไปศึกษาต่อที่ลอนดอน กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร จากดัลลิชคอจเลจ และปริญญาตรีด้านกฎหมาย (เกียรตินิยม) จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เมื่อปี 2498

หลังจบการศึกษา เข้ารับราชการที่กระทรวงการต่างประเทศ ได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตไทยประจำสหประชาชาติ เมื่อ พ.ศ. 2510 จากนั้นย้ายไปเป็นเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศแคนาดา ประจำประเทศสหรัฐอเมริกา และเป็นผู้แทนถาวรแห่งประเทศไทยประจำสหประชาชาติ

ในปี พ.ศ. 2518 เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย เดินทางไปเปิดความสัมพันธ์ทางการทูตกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ก่อนที่หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช จะเดินทางไปสถาปนาความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการในเวลาต่อมา

ในปี พ.ศ. 2519 ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงการต่างประเทศในรัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิชียร ก่อนจะถูกสั่งพักราชการในปี พ.ศ. 2520 ด้วยข้อหาพัวพันและฝักใฝ่ในลัทธิคิมมิวนิสต์ และถูกย้ายไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทย ประจำสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ก่อนจะลาออกจากราชการในปี 2522 หันมาทำงานด้านธุรกิจกับกลุ่มบริษัทสหยูเนี่ยนฯ จนกระทั่งเป็นประธานกรรมกลุ่มบริษัทเมื่อปี 2534 และดำรงตำแหน่งประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

นายอานันท์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีถือเป็นคนที่ 19 สมัยแรกระหว่างวันที่ 2 มีนาคม 2534 ถึง 22 มีนาคม 2535 ภายหลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2534 จากการเสนอชื่อโดย พลเอกสุจินดา คราประยูร (ศิษย์เก่าร่วมโรงเรียนอำนวยศิลป์) และเคยร่วมงานกับนายอานันท์ เมื่อ พ.ศ. 2514 ขณะพันโทสุจินดา (ยศขณะนั้น) เป็นรองผู้ช่วยทูตทหารบก ประจำสถานเอกเอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงวอชิงตัน และนายอานันท์ เป็นเอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกา

คณะรัฐมนตรีในรัฐบาลนายอานันท์ ประกอบด้วยบุคคลที่มีชื่อเสียงทางด้านการเงินการคลัง เช่น นายนุกูล ประจวบเหมาะ นายเสนาะ อูนากูล นายโฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ขณะที่นายอานันท์เองได้รับฉายาว่า "ผู้ดีรัตนโกสินทร์"

นายอานันท์พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 22 มีนาคม 2535 ซึ่ง พรรคสามัคคีธรรมไ ด้รับเลือกตั้งมากที่สุด 79 คน เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล แต่ นายณรงค์ วงศ์วรรณ หัวหน้าพรรคกลับไม่สามารถดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ หลังจากนางมาร์กาเร็ต แท็ตไวเลอร์ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ออกมาประกาศว่า นายณรงค์ เป็นหนึ่งในบัญชีดำ ผู้ไม่สามารถขอวีซ่าเดินทางเข้าสหรัฐฯ ได้ เนื่องจากมีความใกล้ชิดกับการค้ายาเสพติด

พรรคร่วมเสียงข้างมาก ซึ่งประกอบด้วย พรรคสามัคคีธรรม พรรคชาติไทย พรรคกิจสังคม พรรคประชากรไทย พรรคราษฎร จึงสนับสนุนให้พลเอกสุจินดา คราประยูร ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 19 ซึ่งเป็นที่มาของวาทกรรมสีดำทางการเมือง "เสียสัตย์เพื่อชาติ" และนำมาสู่การชุมนุมคัดค้านโดยประชาชนจำนวนมากในกรุงเทพ และรัฐบาลใช้กำลังเข้าปราบ ใน เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 17 พฤษภาคม 2535

พลเอกสุจินดาลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจากการกดดันทางการเมืองภาคประชาชน ฝ่ายพรรคร่วมเสียงข้างมากร่วมกันสนับสนุนให้ พลอากาศเอกสมบุญ ระหงษ์ หัวหน้าพรรคชาติไทย ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่แล้ว นายอาทิตย์ อุไรรัตน์ รองหัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม ประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ มีการ "พลิกโผกลางอากาศ" เสนอชื่อนายอานันท์ ปันยารชุน ขึ้นทูลเกล้าฯ ในวินาทีสุดท้าย

นายอานันท์ได้รับพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่สอง ในวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535 จัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกิจ เพื่อจัดการเลือกตั้งใหม่ โดยรัฐมนตรีส่วนใหญ่เคยดำรงตำแหน่งมาก่อนในสมัยแรก

นายอานันท์ พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่สองในวันที่ 23 กันยายน 2535 ภายหลังการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2535 ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ได้รับเลือกตั้งเข้ามามากที่สุด และ นายชวน หลีกภัย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 20

พี่น้อง

พี่น้องของนายอานันท์ ปันยารชุนมีดังนี้

1. สุธีรา เกษมศรี ณ อยุธยา สมรสกับ หม่อมราชวงศ์ระพีพรรณ เกษมศรี มีบุตร-ธิดาดังนี้
1.1 หม่อมหลวงพีระพงศ์ เกษมศรี สมรสกับ หม่อมราชวงศ์รำพิอาภา สวัสดิวัตน์ เกษมศรี  ธิดา หม่อมเจ้านนทิยาวัด สวัสดิวัตน์ พระอนุชาในสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7
1.2 หม่อมหลวงสุรธี อิศรเสนา สมรสกับ พชร อิศรเสนา ณ อยุธยา อดีตปลัดกระทรวงพาณิชย์

2. ปฏดา วัชราภัย สมรสกับ กระแสร์ วัชราภัย
2.1 จรัสศรี วัชราภัย

3. กุนตี พิชเยนทรโยธิน สมรสกับ เกริกอิทธิ์ พิชเยนทร์โยธิน (บุตร พลเอก เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน อดีตผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์) มีบุตร-ธิดา
3.1 อาภา พุกกะมาน สมรสกับ สหัส พุกกะมาน ที่ปรึกษาสำนักพระราชวัง
3.2 อิทธิ พิชเยนทรโยธิน อดีตอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์ สมรสกับ ถวิดา (คอมันตร์) พิชเยนทรโยธิน - ธิดา พันเอกถนัด คอมันตร์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กับท่านผู้หญิงโมลี

4. จิตรา วรวรรณ ณ อยุธยา สมรสกับ หม่อมเจ้าโวฒยากร วรวรรณ มีบุตร 1 คน
4.1 หม่อมราชวงศ์ชาญวุฒิ วรวรรณ สมรสกับ คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ธิดาศาสตราจารย์นายแพทย์กษานและท่านผู้หญิงสุมาลี จาติกวณิช)

5. ดุษฎี โอสถานนท์ สมรสกับ ศ.นพ.ชัชวาลย์ โอสถานนท์ มีบุตร-ธิดา
5.1 ทิพย์สุดา สุวรรณรักษ์ สมรสกับ นายแพทย์จินดา สุวรรณรักษ์
5.2 นายแพทย์ระพินทร์ โอสถานนท์

6. กรรถนา อิศรเสนา ณ อยุธยา สมรสกับ อายุศ อิศรเสนา ณ อยุธยา บุตร พระยาภรตราชา (หม่อมหลวงทศทิศ อิศรเสนา)
6.1 ชุติมา ลี้ถาวร สมรสกับ วิทย์ ลี้ถาวร บุตร นายชาญชัย ลี้ถาวร อดีตปลัดกระทรวงการคลัง กับ นางประมวล

7. สุภาพรรณ ชุมพล ณ อยุธยา สมรสกับ นายแพทย์พัชรีสาร ชุมพล ณ อยุธยา

8. ดร.รักษ์ ปันยารชุน สมรสกับ จีรวัสส์ (พิบูลสงคราม) ปันยารชุน  ธิดาจอมพล ป.พิบูลสงครามและท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม

9. กุศะ ปันยารชุน สมรสกับ สุพรรณี เบญจฤทธิ์ และ นฤวร ทวีสิน

10. พันตำรวจเอก ประสัตถ์ ปันยารชุน สมรสกับ สุขศรี ปันยารชุน

11. ชัช ปันยารชุน สมรสกับ มัลลิกา (สนิทวงศ์ ณ อยุธยา) ปันยารชุน ธิดาหม่อมหลวงเต่อ สนิทวงศ์

สาแหรกข้างแม่

พระยาโชฎึกราชเศรษฐี (เถียน) บุตรจีนจือ ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้ถวายตัวอยู่ในกรมสมเด็จพระเทพศิรินนทรามาตย์ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นที่ขุนสมุทรโคจร ในกรมท่าซ้าย และเป็นหลวงภาษีวิเศษในปี 2402 ตำแหน่งเจ้าภาษีนายอากรอยู่ในกรมท่าซ้าย ต่อมาในสมัยรัชการที่ 5 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรครั้งแรกเป็นพระพิบูลย์พัฒนากรในปี 2411 และเป็นพระยานรนาถภัคดีศรีรัชฎากรในปี 2416 ช่วยราชการคลังในหอรัษฎากรพิพัฒน์ด้านภาษีอากร และเงินรายได้ของแผ่นดิน เมื่อ ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) ได้เป็นจางวางกรมสรรพภาษี กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ได้เป็นองคมนตรีที่ปรึกษาราชการในพระองค์ เป็นผู้ทำน้ำประปาจำหน่ายเป็นครั้งแรกในสำเพ็ง โดยสูบน้ำขึ้นถังแล้วต่อท่อไปตามบ้าน

พระยาทิพย์โกษา (โต โชติกเสถียร) เป็นบุตรชายคนโตของพระยาโชฎึกราชเศรษฐี (เถียน) เคยรับราชการทางฝ่ายปกครองมาแล้ว ในหัวเมืองสังกัดกรมท่า เป็นผู้ว่าราชการเมืองนครชัยศรี (นครปฐม) มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาสุนทรบุรีศรีพิไชยสงคราม ต่อมาถึงปี 2434 ได้โอนมารับราชการในกรมท่าถลาง และเปลี่ยนราชทินนามใหม่เป็นพระยาทิพย์โกษา เป็นผู้ชำนาญการภาษีอากร ซึ่งเป็นตำแหน่งลอยๆ ในปีเดียวกันนั่นเอง ก็ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้กำกับข้าหลวงใหญ่หัวเมืองฝ่ายทะเลตะวันตก มีอำนาจมากกว่าข้าหลวงใหญ่และข้าหลวงทั้งหมด ในฐานะข้าหลวงใหญ่มณฑลภูเก็ตคนแรก พระยาทิพย์โกษาได้กลายเป็นผู้ริเริ่มจัดตั้งมณฑลภูเก็ต ตั้งแต่การแบ่งเขตการปกครองเมืองต่างๆออกเป็นอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน การจัดตั้งคณะผู้บริหารมณฑลขึ้นมาเรียกว่า กองมณฑล ซึ่งประกอบด้วย ข้าหลวงใหญ่ และข้าหลวงฝ่ายต่างๆ ของเมืองต่างๆ พระยาทิพโกษา (โต) สมรสกับ คุณหญิงกุหลาบ โชติกเสถียร มีบุตรธิดาดังนี้

1.พระยาพิพิธภัณฑ์วิจารณ์

2.พระยาสรรพกิจปรีชา (ชื่น โชติกเสถียร) ถวายตัวเป็นมหาดเล็กหลวง แล้วไปศึกษา ณ ประเทศอังกฤษ สอบไล่ได้ชั้นเนติบัณฑิต กลับมารับราชการ ประจำในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ในตำแหน่งเลขาธิการเสนาบดีผู้ช่วยที่ปรึกษาราชการกระทรวง มีหน้าที่เกี่ยวกับภาษาต่างประเทศเป็นพื้น ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไปรับราชการประจำในกระทรวงการต่างประเทศ ภริยาคนแรก คุณหญิงฉลวย สรรพกิจปรีชา ธิดาคนที่ 4 คือ นางสิริ ภรรยานายพจน์ สารสิน
http://redusala.blogspot.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น