วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2554

กรณีธรรมกายอีกครั้ง

กรณีธรรมกายอีกครั้ง
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURObFpHa3dNVEk1TURNMU5BPT0
=&sectionid=TURNd01nPT0=&day=TWpBe
E1TMHdNeTB5T1E9PQ==
บทบรรณาธิการ


เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา พระอนิลมาน ธัมมสากิโย คณบดีคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ออกมาทักท้วงโครงการชำระพระไตรปิฎกของวัดพระธรรมกาย

โดยระบุว่าจะมีการแก้ไขเนื้อหาที่เป็นแก่นสำคัญของพุทธศาสนาว่าด้วยพระไตรลักษณ์ จาก 'อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา' เป็น 'อนิจจัง ทุกขัง อัตตา' อันจะทำให้คำสอนผิดเพี้ยนเป็นตรงกันข้ามกับที่ผ่านมา

ในขณะที่วัดพระธรรมกายก็ออกแถลงการณ์ตอบโต้ชี้แจงว่า โครงการชำระพระไตรปิฎกมิได้เป็นการเปลี่ยนแปลงคำสอนเรื่องไตรลักษณ์ แต่เป็นการใช้วิทยาการสมัยใหม่เข้าไปบันทึกคัมภีร์โบราณ

ที่อาจจะเสียหายหรือสึกกร่อนไปตามเวลา



อะไรจะเป็นข้อเท็จหรือข้อจริง จะมีฝ่ายใดให้ข้อมูลไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง จะต้องให้ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในภายหลังเป็นข้อพิสูจน์ยืนยัน

แต่ข้อควรสังเกตในกรณีนี้ก็คือ ในอดีตที่ผ่านมาวัดพระธรรมกายเคยสร้างปัญหาในกรณี การตีความคำว่า 'อนัตตา' ที่ผิดเพี้ยนไป จนกระทั่งต้องมีปราชญ์และผู้รู้ออกมาทักท้วงว่าเป็นการตีความแบบ 'สัทธรรมปฏิรูป' คือบิด เบือนคำสอนโดยสิ้นเชิง

อันจะทำให้เกิดความแตกแยกในหมู่สงฆ์และ เกิดความสับสนในพระพุทธศาสนา

ฉะนั้นเมื่อเกิดข้อกล่าวหาในทำนองเดียวกันขึ้นอีก สังคมย่อมเกิดความหวาดระแวงอยู่เป็นธรรมดา



ในกรณีนี้ พระพรหมโมลี เจ้าคณะใหญ่หนกลาง และกรรมการมหาเถรสมาคม วาง ท่าทีต่อกรณีดังกล่าวเป็นหลักและเหมาะสมยิ่ง ด้วยการระบุว่า

ความผิดถูกของกรณีนี้ต้องรอให้การดำเนินการของวัดพระธรรมกายเสร็จสิ้นเสียก่อน จากนั้นค่อยนำเนื้อหามาเปรียบเทียบว่ามีการบิด เบือนคำสอนให้ผิดเพี้ยนไปหรือไม่ หากตรวจพบว่ามีความผิดเพี้ยนคลาดเคลื่อนไป มหาเถรสมาคมสามารถเข้าไปจัดการได้ทันที

อันเป็นท่าทีเดียวกันกับสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

อย่างไรก็ดี ปัญหานี้จะหมดหรือลดลงไป หากวัดพระธรรมกายจะเปิดเผยขั้นตอนการทำงานของตนให้สังคมได้รับรู้

เพราะหากบริสุทธิ์ใจ ก็ไม่น่าจะมีอะไรต้องกังวล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น