หมิ่นเบื้องสูงท่วมศาลสถิติน่าตกใจหลังคมช.ปฏิวัติฟ้องเพิ่ม13,000% http://www.dailyworldtoday.com/newsblank.php?news_id=10177 คณะนิติราษฎร์ฯเปิดเผยข้อมูลน่าตกใจเกี่ยวกับคดีหมิ่นเบื้องสูงช่วงปี 2535-2547 มีคดีฟ้องร้องไม่ถึง 10 คดี เฉลี่ยปีละ 0.8 คดี แต่หลังปี 2548-2552 กลับมีสถิติส่งฟ้องคดีต่อศาลสูงถึง 547 คดี เฉลี่ยปีละ 109 คดี ใช้เวลาเพียง 4-5 ปีปริมาณคดีพุ่งถึง 13,000% นอกจากนี้ยังพบการใช้มาตรา 112 ผูกโยงกับความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์อีกหลายคดี และใช้ข้ออ้างมาตรา 112 ปิดเว็บเพจไปแล้วกว่า 60,000 เว็บ สอดคล้องกับข้อสังเกตถูกใช้เป็นเครื่องมือทำลายกันทางการเมือง “วรเจตน์” ย้ำบทลงโทษขัดหลักการประชาธิปไตย ไม่สมเหตุสมผล จำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุง ชี้ยังมีปัญหาเรื่องทัศนคติด้านการปกครองของผู้ที่มีอำนาจเกี่ยวข้องกับคดี การอภิปรายเรื่อง “กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” ที่จัดโดยคณะนิติราษฎร์ นิติศาสตร์เพื่อราษฎร เมื่อวันที่อาทิตย์ที่ 27 มี.ค. ที่ผ่านมา ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีนักวิชาการในคณะนิติราษฎร์ฯ 4 คนร่วมแสดงความคิดเห็น ประกอบด้วย รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ นายธีระ สุธีวรางกูร น.ส.สาวตรี สุขศรี และนายปิยะบุตร กนกแสงกุล ท่ามกลางความสนใจของประชาชนทั่วไป กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) แดงทั้งแผ่นดินหรือคนเสื้อแดง รวมทั้งนักศึกษาที่เข้าร่วมฟังการอภิปรายจำนวนมาก รธน. ให้สถานะพิเศษตำแหน่งเดียว รศ.ดร.วรเจตน์กล่าวว่า จากการตรวจสอบปัญหาของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 พบปัญหาการคุ้มครองบุคคลในตำแหน่งต่างๆ ซึ่งบทบัญญัติมาตราดังกล่าวกำหนดไว้ 4 ตำแหน่งคือ พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เมื่อพิจารณาจากรัฐธรรมนูญแล้วจะเห็นว่าตำแหน่งซึ่งเป็นองค์กรของรัฐที่รัฐธรรมนูญกำหนดสถานะไว้เป็นพิเศษนั้นมีตำแหน่งเดียวคือพระมหากษัตริย์ ในทางรัฐธรรมนูญนั้นอยู่ในฐานะที่ทรงเป็นประมุขของรัฐ ไม่มีเหตุผลรองรับคุ้มครองคนอื่น “การบัญญัติคุ้มครองพระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ไว้เท่ากับประมุขของรัฐทั้งๆที่บุคคลในตำแหน่งดังกล่าวไม่ใช่ประมุขของรัฐ และได้รับความคุ้มครองตามหลักทั่วไปอยู่แล้ว ย่อมหาเหตุผลรองรับได้ยาก หากในทางฝ่ายนิติบัญญัติต้องการคุ้มครองเกียรติของบุคคลในตำแหน่งพระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ยิ่งไปกว่าบุคคลธรรมดาจะต้องอธิบายให้เห็นเหตุผลความจำเป็น และการจะกำหนดอัตราโทษให้เท่ากับบทบัญญัติที่คุ้มครองเกียรติของบุคคลในตำแหน่งพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นประมุขของรัฐไม่ได้” บทลงโทษขาดความชอบธรรม รศ.ดร.วรเจตน์กล่าวว่า ปัญหาอัตราโทษพบว่าปัจจุบันโทษในความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯลฯคือจำคุก 3-15 ปี โทษดังกล่าวเป็นโทษที่ได้รับการกำหนดขึ้นโดยขาดความชอบธรรมในทางประชาธิปไตย เพราะเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาโดยคำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 ลงวันที่ 23 ต.ค. 2519 หลังเหตุการณ์ 6 ตุลา 19 เมื่อเปรียบเทียบกับความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพตามพระราชกำหนดลักษณะหมิ่นประมาทด้วยการพูดฤาเขียนถ้อยคำเท็จออกโฆษณาการ ร.ศ. 118 มาตรา 4 อันเป็นกฎหมายที่บัญญัติในสมัยรัชกาลที่ 5 แล้ว พบว่าโทษหมิ่นประมาทพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งดำรงสยามรัฐมณฑลคือ โทษจำคุกไม่เกินกว่า 3 ปี ฤาให้ปรับเป็นเงินไม่เกินกว่า 1,500 บาท ฤาทั้งจำคุกและปรับด้วย สมัยก่อนยังกำหนดโทษต่ำกว่า “ความไม่สมเหตุสมผลของอัตราโทษตามมาตรา 112 คือในขณะที่โทษหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่เป็นโทษจำคุกนั้น กฎหมายกำหนดไว้ไม่เกิน 3 ปี โดยไม่กำหนดโทษขั้นต่ำไว้ หมายความว่าศาลจะลงโทษผู้กระทำความผิดน้อยเพียงใดก็ได้ แต่โทษหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยกลับกำหนดไว้สูงสุดถึง 15 ปี โดยกำหนดโทษขั้นต่ำไว้ด้วยว่าต้องจำคุกไม่ต่ำกว่า 3 ปี มีข้อสังเกตด้วยว่าในคราวประกาศใช้ประมวลกฎหมายอาญาเมื่อ พ.ศ. 2500 นั้น โทษตามมาตรา 112 คือโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี และไม่มีการกำหนดโทษขั้นต่ำไว้ กล่าวได้ว่าอัตราโทษที่กำหนดไว้ในกฎหมายปัจจุบันขาดความสอดคล้องกับหลักความพอสมควรแก่เหตุอย่างสิ้นเชิง” ไม่มีข้อยกเว้นแสดงความเห็นสุจริต |
ดาวน์โหลดคลิ๊ปคนเสื้อแดง
วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2554
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น